วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

Parts of Speech


Parts of Speech คือ ชนิดของคำ

Parts of Speech มีอะไรบ้าง ง่ายๆ จำไว้แค่ว่า มี 8 อย่างเท่านั้นเอง มี

1. Noun คำนาม
2. Pronoun คำสรรพนาม
3. Verb กริยา
4. Adverb กริยาวิเศษณ์
5. Adjective คำคุณศัพท์
6. Preposition บุพบท
7. Conjunction คำสันธาน
8. Interjection คำอุทาน

มารู้จักกับพวกเขาทีละตัวกันเลยดีกว่า

1. Noun คือ คำที่ใช้เรียกแทน ชื่อ คน สัตย์ สิ่งของ (จำไว้แค่นี้ค่ะง่ายไหม)
คำนามมี นามทั่วไป กับ นามเฉพาะ (อันนี้ไม่พูดมากเพราะหลายคนรู้แล้ว)
ตำแหน่งและหน้าที่: เป็นได้ทั้งประธานและกรรม ในประโยค

โอ้ น้อยจริงๆ นอกนั้น อยู่ที่ผู้อ่านแล้วหล่ะค่ะ

2. Pronoun คือ คำที่ใช้เรียกแทน Noun หรือ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำซ้ำ
ยกตัวอย่าง เวลาเราเรียกหรือเอ่ยคำใดคำหนึ่งบ่อยๆ บ่อยมากๆ บ่อยเกินไป ถามหน่อยว่า เราเบื่อไหมคะ
ถ้าพูดถึง Grammarman สิบครั้ง เราจะพูดคำว่า Grammarman ถึงสิบครั้งรึเปล่าคะ
ถ้าเป็นฝรั่งแล้ว คนไทยก็เช่นกันค่ะ จะหลีกเลี่ยงการใช้คำซ้ำโดยการใช้คำ สรรพนาม แทน
คือ ครั้งแรก เรียก Grammarman และครั้งต่อๆไปจึงเรียก เขา หรือ เธอ เพื่อไม่ให้ดูน่าเบื่อค่ะ

3. Verb ก็คือกริยานั่นเอง ไม่พูดมากอีกแล้ว ง่ายนิดเดียว มี verb แท้ และ verb ไม่แท้
มีวิธีสังเกตุง่ายๆ
verb แท้ จะผันตามประธานและ tense ค่ะ แห่ะๆๆ รวมถึง helping verb ทั้ง 24 ตัวด้วยนะคะ

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าประธานเป็นเอกพจน์บุรุษที่ 3 กริยาจะผันตามประธานคือ เติม s หรือ es ไง หลายคนคงคุ้นๆ
เอ๊ะๆ มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า เอกพจน์บุรุษที่ 3 เป็นเยี่ยงใด
ก่อนอื่นเลย บุรุษที่ 1 ก็คือ ตัวผู้ผูดเอง มีแค่ I กับ we
                 บุรษที่ 2 คือ คนที่เราพูดด้วย คือ you
                 บุรุษที่ 3 คือ คนที่เราพูดถึง หรือที่เรามักคุ้นเคยกับคำว่า บุคคลที่สามนั่นเอง มีคำว่า they he she it
แล้วเอกพจน์บุรษที่สาม มีคำไหนบ้างเอ่ย ติ๊กต่อกๆๆ เฉลย
คือคำว่า he she it ค่ะ ที่เป็นเอกพจน์แล้วก็อยู่ในบุรุษที่ 3 ด้วย ส่วน they เป็นพหูพจน์ค่ะ
ยังไม่หมดๆ เอกพจน์บุรุษย์ที่ 3 ยังรวมถึง ชื่อคน สัตว์ สิ่งของ ที่มีสิ่งเดียวอันเดีียวด้วยนะคะ

มาดูตัวอย่างการผันของกริยาตามประธานกันเล๊ย

Marry loves playing sports. แมรี่ชอบเล่นกีฬา

สังเกตุว่าประโยคนี้ loves เติม s ค่ะ แสดงว่า ประโยคนี้ กริยาแท้จะต้องเป็น loves แน่ๆเลยเนอะ ใช่แล้ว ถูกต้องที่สุด เย้ๆ เรามาได้ไกลแล้วค่ะ อิอิ

ถ้าผันตาม tense หล่ะ

He has never told me before that he is a gay. เขาไม่เคยบอกฉันมาก่อนว่าเขาเป็นเกย์ - -''

*** 
สังเกตุช่วยกันค่ะว่าประโยคนี้ กริยาตัวไหนที่ผันตาม tense แต่นแตนแต๊น ก็มีตัวเดียวเท่านั้นค่ะ คือ คำว่า told ไง เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นpresent perfect tense คือ เขาไม่เคยบอกตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันก็ไม่บอก และมีแนวโน้มว่าเขาจะไม่บอกในอนาคต

และกริยาไม่แท้ที่เหลือ พวกเขารอคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักด้วยนะคะ พวกเขาเหล่านั้นคือ present participle และ past participle

modal verb คืออะไรหว่า ก็พวก can, could, may, might, will, would, shall, should ,ought to,  be boing to, etc. ไงคะ เยอะแยะมากมาย มี 24 ตัวค่า ถ้าจะพามาทำความรู้จักกันใหม่ทั้งหมด มันจะเสียเวลาค่ะ ไปต่อกันดีกว่า

present participle คืออะไรหว่า ก็ กริยาที่ เติม ing ไงคะ แต่พวกนี้ไม่ใช่ gerund และก็จะแปลต่างจาก present continuous tense ด้วยนะ หลายคนมักสับสนมากเลย จะทำยังไงดีถึงจะไม่สับสนหว่า อ้อๆ Grammarman เคยเขียนไว้นี่นา กลับไปทำความรู้จักกับ present participle ว่า แตกต่างจาก gerund ยังไง คลิกเลย>> Gerund & Present Participle ใช้เพื่อขยายคำที่อยู่ข้างหน้ามัน หมายถึง คำที่ถูกขยายกระทำกริยาเอง

Past participle คืออะไรหว่า ก็ กริยาที่เติม ed หรือ verb ช่อง 3 ไง ใช้เพื่อขยายคำที่อยู่ข้างหน้ามัน หมายถึง คำที่ถูกขยายถูกกระทำ

ตัวอย่างระหว่าง present participle กับ past participle

A man standing next to the door is my boyfriend. ผู้ชายที่ยืนอยู่ใกล้ประตูเป็นแฟนฉันเอง

That dog kicked by you is mine. หมาตัวที่เธอเตะนั่นน่ะเป็นของฉัน

เรามาขยายความกันอีกนิด
A man standing next to the door is my boyfriend. ประโยคนี้ สังเกตุมั๊ยคะว่า มีกริยาอยู่กี่ตัว ตัวแรกเลย standing และอีกตัวคือ is
โห้ กริยาสองตัว เป็นไปได้ไง แล้วตัวไหนกริยาแท้หล่ะเนี่ย ง๊งงง - -'' เรามาใช้ความรู้ที่เราเรียนมากันเถอะ

ขั้นแรก มองหาก่อนเลย กริยาไหนที่ผันตามประธานและ tense นั่นแหล่ะ กริยาแท้ อยู่ไหนน๊า อ้า เจอแล้ว is ไง บ่งบอกว่าประธานเป็นเอกพจน์

นั่นแน่ ความรู้เริ่มมาค่ะ วิทยายุทธ์เริ่มหาญกล้า พอเรารู้ว่าตัวไหนเป็นกริยาแท้ นอกกนั้น ชิวๆๆ อิอิ แล้วคำว่า standing หล่ะ คืออะไร มันก็คือ present participle เอาไว้ขยายคำที่อยู่ข้างหน้ามัน คือคำว่า man
สรุปแล้ว standing ขยายคำว่า man หมายถึง man กระทำกริยายืนเองค่ะ ไม่มีใครยืนให้ เพราะ man ก็มีขา อิอิ

เอ้า ประโยคต่อไปกันเล๊ยยยยยยย
That dog kicked by you is mine. ประโยคนี้ กริยาแท้คืออะไรเอ่ย แน่นอน ไม่ต้องคิดให้เสียระบบก่อนย่อย ต้องเป็น is อยู่แล้ว บ่งบอกว่า ประธานเป็นเอกพจน์ คือ หมามีตัวเดียว
แล้วคำว่า kicked หล่ะ (kicked ก็เป็น past participle ไง )เอาไว้ขยายคำที่อยู่ข้างหน้ามัน
แสดงว่า dog เนี่่ย ถูกเตะ  (dog ถูกกระทำ ไม่ได้กระทำเอง dog เตะคนไม่ได้ แต่คนเตะ dog ได้) พอเข้าใจกันหรือยังคะ อยากถูก dog เตะเหมือนกันนะ จะได้เตะมันกลับ อุ้ย รุนแรงๆๆ

เมื่อเราพอรู้จัก verb กันคร่าวๆ ยังไม่ถึงกึ๋นเลย แต่ถ้ารู้แค่นี้ก็เทพขิงๆแล้ว เรามาทำความรู้จักกับ adverb ต่อกันเถอะ

4. Adverb คือ คำที่ขยาย กริยา
อ่ะๆ ยังไม่พูดถึง adverb ดีกว่า เรามาทำความรู้จักกับ adjective กันก่อนดีกว่า เอาแค่นี้เรียกน้ำย่อยกันไปก่อน


5. Adjective คือ คำที่ขยายคำนามหรือสรรพยาม ตำแหน่งมีแค่ 2 ที่ เน้นๆ อยู่หลัง v.to be และ อยู่หน้าคำนามที่้มันขยายเสมอ

ตำแหน่งที่ 1 อยู่หลัง v. to be
เช่น I am beautiful. ฉันสวย (ประโยคนี้ adjective อยู่หลัง am ซึ่งเป็น v. to be ถูกไหม และหน้าที่ของมันก็คือขยายคำนามหรือสรรพนามนั่นแหล่ะ ก็ขยายคำว่า I ไง หมายถึง I สวย ฮิฮิ)

ตำแหน่งที่ 2 อยู่หน้าคำนามที่มัันขยายค่ะ
เช่น pretty girl เด็กหญิงผู้น่ารัก (pretty เป็นคำ adjective แปลว่า น่ารัก ขยายคำว่า เด็กผู้หญิง ให้ได้ใจความชัดเจนยิ่งขึ้นค่ะ สังเกตุไหมคะว่า อยู่หน้าคำนาม)

แต่เดี๋ยวก่อน อย่าละเลิงใจไป โปรดจำไว้ว่า adjective ขยายนามที่อยู่ข้างหลัง
ส่วน adjective clause ขยายนามที่อยู่ข้างหน้า ซึ่งจะอยู่ในเรื่องของประโยคความซ้อนค่ะ แต่วันนี้เราจะไม่พูดถึงประโยคความซ้อนกัน เดี๋ยวไม่จบ

อาฮ่าๆ เมื่อเรารู้จักหน้าที่และตำแหน่งของ adjective ไปเรียบร้อยแล้ว ขาดไม่ได้เลย เราต้องรู้จักการเรียงตำแหน่งของ adjective ด้วย

ในกรณีที่เราจะใช้ adjective หลายๆตัว ขยายคำนามพร้อมกัน อยากทราบไหมคะว่าจะนำคำไหนมาเรียงก่อนกัน ติ๊กต่อกๆๆ

ให้เรียงอย่างงี้เลย

opinion size age shape colour origin material N1 N2 (ท่องแปดลำดับนี้ให้ได้นะคะ ท่องเป็นภาษาอังกฤษนะ)

ความคิดเห็น ขนาด อายุ รูปร่าง สี ต้นกำเนิด วัสดุที่ทำ นาม1 นาม2

tip
size รวมถึง lenght ที่เป็นความยาวด้วยนะคะ
shape รวมถึง width ที่เป็นความกว้าง







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น